Asterisk EP1- รู้จักกับ Asterisk ผู้อยู่เบื้องหลังระบบโทรศัพท์ไอพี ที่ได้รับความนิยม ในปัจจุบัน

Asterisk เป็นเฟรมเวิร์กซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สฟรีที่ใช้สร้างแอปพลิเคชันการสื่อสาร ได้รับการพัฒนาโดย Mark Spencer ในปี 1999 และได้กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม Voice-over-IP (VoIP) ที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย

Asterisk นั้นช่วยให้คุณสร้างแอปพลิเคชันการสื่อสาร เช่น ระบบ PBX (Private Branch Exchange), Conference Bridge, เซิร์ฟเวอร์วอยซ์เมล(Voice mail) และระบบโต้ตอบด้วยเสียง (IVR) นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อรวมเข้ากับระบบ PSTN (เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ) แบบดั้งเดิมหรือระบบ VoIP อื่นๆ

Asterisk ได้รับความนิยมนำไปพัฒนาเป็นระบบโทรศัพท์มากมาย ตัวอย่างเช่น FreePBX, Elastix , Issabel , PBXact, Yeastar, Grandstream อื่นๆ อีกมากมาย ล้วนแล้วแต่เบื้องหลังซอทฟ์แวร์ต่างๆ เหล่านี้ขับเคลื่อนด้วย Asterisk ทั้งสิ้น ปัจจุบันสถิติการดาวน์โหลดซอท์ฟแวร์ไปใช้งาน อ้างอิงค์จากหน้าเว็บของ https://www.asterisk.org เองมากกว่าหลายล้านครั้ง มีชุมชนสำหรับพูดคุย (Community) มากมาย และมีสมาชิกจำนวนมาก ที่ร่วมกันพัฒนา

FreePBX เป็นอีกซอฟท์แวร์หนึ่งที่พัฒนามาจาก Asterisk
Yeastar แบรนด์ที่ได้รับความนิยมปัจจุบันก็พัฒนามาจาก Asterisk
Issabel ซึ่งก่อนหน้าคือ Elastix ที่รู้จักกันเนื่องจากถูกซื้อไปแล้ว ล้วนพัฒนามาจาก Asterisk เช่นกัน

Asterisk ใช้ภาษาโปรแกรมที่เรียกว่า Asterisk Dialplan ซึ่งเป็นภาษาสคริปต์ที่ใช้ในการกำหนดค่าการกำหนดเส้นทางการโทร เมนู IVR และคุณสมบัติการจัดการการโทรอื่นๆ นอกจากนี้ยังรองรับโปรโตคอล VoIP ยอดนิยมมากมาย เช่น SIP, IAX, H.323 และ MGCP

ตัวอย่าง Dialplan ที่เราสามารถกำหนดค่าต่างๆ ตามต้องการได้

ข้อดีหลักอย่างหนึ่งของ Asterisk คือความยืดหยุ่นและการปรับขยายได้ สามารถใช้เพื่อสร้างโซลูชันสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ และสามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการเฉพาะได้อย่างง่ายดาย

โดยรวมแล้ว Asterisk เป็นเฟรมเวิร์กซอฟต์แวร์ที่ทรงพลังและหลากหลายสำหรับการสร้างแอปพลิเคชันการสื่อสาร และธรรมชาติของโอเพ่นซอร์สทำให้มันเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับนักพัฒนาและธุรกิจต่างๆ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ท่านอาจจะมีคำถามในใจว่า “อ้าว.. ทำไมหลายๆซอฟท์แวร์นำเจ้า Asterisk ไปพัฒนาต่อล่ะ ไม่ใช้ Asterisk เลยล่ะ? ”

ต้องบอกอย่างนี้ครับว่า Asterisk นั้นทรงพลังก็จริง แต่การจะบริหารจัดการเขาเองนั้นให้มีประสิทธิ์ภาพ เราก็ต้องใช้พลังเช่นกัน ฮ่าๆๆ เว่าซื้อๆ เลยคือ มันเป็นซอฟท์แวร์ที่ทรงพลัง แต่มันไม่ได้ออกแบบมาให้ผู้ใช้อย่างเราๆ ใช้งานได้ง่ายๆ ไม่มีหน้าเว็บ (User Interfaces) ให้เราจัดการ มันต้องใช้คำสั่งล้วนๆ นั่นเอง ทุกการทำงานที่เราต้องการให้มันเป็นไป ล้วนแล้วต้องเขียนเองบรรทัดต่อบรรทัด เท่านั้นจร้า

ในเมื่อมันทรงพลัง แต่ด้อยเรื่องการสื่อการกับผู้ใช้ ซอท์แวร์ต่างๆ ข้างต้น จึงนำไปพัฒนาต่อยอดให้มันมีหน้าตาน่าใช้ เป็นมิตร ต่อผู้ใช้นั่นเอง

Asterisk เองใช้การสื่อสารผ่านโปรโตคอลมาตรฐาน หลักๆ รองรับ SIP และ IAX ทำให้เราสามารถนำโทรศัพท์ที่เป็นไอพีโฟนแบรนด์ต่างๆ มาใช้งานได้ทันที เช่น Yealink, Grandstream , Fanvil , Htek, Cisco และแม้กระทั่งซอฟท์แวร์ที่รองรับ SIP โปรโตคอลดังกล่าวด้วยเช่นกัน ที่นิยมใช้ เช่น Zoiper, Bria (X-Lite) , PortSIP เป็นต้น

พื้นฐานการทำงานของ SIP โปรโตคอลนั้น ทำงานที่พอร์ตหมายเลข 5060 ทั้งแบบ UDP และ TCP อยู่ที่เราเลือกใช้งานได้เลย

บทความต่อๆ ไปเราจะมาสอนการติดตั้ง Asterisk บนระบบปฏิบัติการ Ubuntu และการคอนฟิกพื้นฐานกันว่า ต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้ระบบสามารถโทรเข้า โทรออก ได้

ขอบคุณที่ติดตามอ่านมาถึงตรงนี้ รอพบบทความ EP ต่อๆ ไปนะครับ
อำนวย ปิ่นทอง
บริษัท โอติก เน็ตเวิร์ค จำกัด

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *