FreeNAS – ตอนที่ 3 จะทำแชร์ไฟล์ ต้องทำอะไรบ้าง ?

สวัสดีอีกครั้ง ในตอนที่ 3 (น่าจะบทความสุดท้ายของวันนี้ เขียนวันเดียว 3 ตอน) ฮ่าๆๆ

สำหรับตอนที่ 3 นี้เราจะมาลงมือทำแชร์ไฟล์กันจริงๆ จังๆ ละ หลายๆ คนที่อ่านตอนที่ 1 – 2 ก็จะบ่นว่า แม่ม.. อะไรนักหนาว่ะ อ่านมาตั้งเยอะละแชร์ไฟล์ยังไม่ได้เลย ฮ่าๆๆๆๆๆ นั่นแหละ คุณโดนดาวหลอกให้อ่านแล้ว ผมตั้งใจเขียนให้ยาวๆ อยากให้คนไทยอ่านหนังสือเยอะๆ เกิน 6 บรรทัดต่อปีกันหน่อย ฮ่าๆๆๆ

เข้าเรื่องกันดีกว่า ใน ตอนที่ 1 ผมพูดถึงเรื่องการติดตั้ง และตอนที่ 2 พูดเรื่อง การกำหนดค่าเริ่มต้น

ตอนที่ 3 นี้มาลงมือเพื่อสร้างแชร์ไฟล์กันเลย ไม่พูดพร่ำ ลงมือเลย

ก่อนที่คุณจะทำการแชร์โฟลเดอร์ใดๆ ได้นั้น คุณจำเป็นต้องสร้าง Disk Pool เสียก่อน ?? คำถามเกิดในใจแล้วใช่ไหม แล้ว Disk Pool แม่งคือไรว่ะ

ในฟรีแนส ฮาร์ดดิสก์ ที่คุณใส่เข้าไป จำเป็นต้องมีการจัดกลุ่มดิสก์ก่อน ซึ่งไอ้จัดกลุ่มดิสก์นี่แหละ เขาเรียกว่า Disk Pool เพื่อ เอาดิสก์หลายๆ ก้อน จับรวมกัน ซึ่งเปรียบเสมือนว่ามันคือดิสก์ก้อนเดียวกัน นั้นเอง

เมื่อจับ จับ กลุ่มดิสก์ได้แล้ว เราก็ค่อย มาสร้างโฟลเดอร์ต่างๆ ในกลุ่มดิสก์นี้ เพื่อแชร์ให้คนอื่นๆ ใช้นั่นเอง ตัวอย่างนะ จากรูปด้านบน ผมมีดิสก์อยู่ทั้งหมด 6 ลูก

ซึ่งผมจะทำการแบ่งดิสก์พวกนี้ออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ เช่น
– ผมกำหนด 2 ลูกแรก เอาไว้เก็บแชร์ไฟล์ แล้วตั้งชื่อ Disk Pool นี้ชื่อว่า ShareData
– ส่วน 3 ลูกที่เหลือ ตั้งชื่อ Disk Pool ใหม่ว่า Media เอาไว้เก็บไฟล์อย่างอื่น เช่น CCTV หรือไม่ก็ไฟล์หนัง อะไรต่างๆ พวกนี้

จะสังเกตุว่า ผมแบ่งด้วย Disk Pool หรือ การจัดกลุ่มมันเลย

เมื่อเราทำการจัดกลุ่มดิสก์พวกนี้แล้ว เราต้องมีการกำหนดค่า เจ้ากลุ่มดิสก์พวกนี้ให้มันทำงานร่วมกันแบบไหน เช่น รวมขนาดพื้นที่เลยไหม เช่น มีดิสก์ 2 ลูก ขนาด 50GB ผมกำหนดให้มันรวมกัน (Tripe) เราจะได้ขนาดประมาณ เกือบ 100Gb ครับ (ปกติ ในฟรีแนส จะตัดพื้่นที่ออก 2Gb ออกในฮาร์ดดิกส์แต่ละก้อน เช่น 50GB จะเหลือสัก 48Gb ประมาณนั้น

การเลือกประเภทกลุ่มดิสก์ (Pool) หรืออีกชื่อคือ Raid นั่นแหละ แบบนี้ข้อดีคือ เราได้พื้นที่เต็มๆ เลยครับ มี 2 ก้อน ก้อนละ 50 ก็ได้ เกือบ 100 Gb ประมาณนั้น แต่ข้อมูลที่จะเอามาเก็บในดิกส์ประเภทนี้ ควรเป็นข้อมูลที่ไม่สำคัญ หายได้ แต่เพียงต้องการความเร็ว และขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บมากๆ นั่นเอง

การจัดกลุ่ม Disk Pool ประเภทนี้ข้อเสียคือ ถ้ามีดิสก์ใดพัง ข้อมูลคุณจะเสียหาย นั่นคือสิ่งที่ผมบอกในข้างต้นว่า “จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สำคัญ” ครับ

แล้วถ้าเรามีดิสก์แค่ 2 ลูก แล้วข้อมูลที่เราต้องการจัดเก็บเป็นข้อมูลสำคัญละ

หากข้อมูลเราที่ต้องการจัดเก็บนั้นมีความสำคัญ และดิสก์เรามี 2 ลูก เราสามารถใช้ประเภทของ Disk Pool เป็นแบบ Mirror (ตามชื่อเลย กระจก คือ ข้อมูลสองก้อน เก็บเหมือนกัน) ทำให้ข้อมูลเรามีความปลอดภัยสูง ก้อนดิสก์สามารถพังได้ 1 ก้อน โดยไม่กระทบกับข้อมูลที่เราจัดเก็บ (Raid 1)

ดังนั้นการเลือกใช้งานประเภทของ Disk Pool เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรานั่นเอง จริงๆ ประเภทมากกว่านี้อีก ตัวเลือกจะมีมากขึ้น ตามจำนวนดิสก์ของเราที่มีครับ

เริ่มสร้าง Disk Pool สำหรับใช้งานกับข้อมูลที่มีความสำคัญ

ไปที่เมนู Storage และไปที่ Pool

จากนั้นคลิกที่ ADD เพื่อเพิ่ม Pool

ให้กำหนดค่า Pool ดังต่อไปนี้
1. Name ให้กำหนดค่าเป็น ShareData
2. เลือกดิสก์ จำนวน 2 ลูกค้า เข้ามาในกลุ่มนี้ คือ da0 และ da1
3. ประเภทของ Disk Pool ผมเลือกที่ Mirror (สังเกตุว่าพื้นที่จัดเก็บของเราจะเหลือเพียง 46GB เท่านั้น (50 – 2 / Disk)

เมื่อกำหนดกลุ่มของดิสก์ได้แล้ว ให้คลิก Create เพื่อสร้างกลุ่มดิสก์ขึ้นมา

จากนั้นคลิกที่ Confirm แล้วคลิกที่ Create Pool อีกครั้ง เป็นการยืนยันการสร้าง Pool

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะเห็นว่ามี Disk Pool แสดงขึ้นมาแล้วที่เมนู Storage และ Pool ดังภาพ

ณ ตอนนี้เราได้กลุ่มของดิสก์ เรียบร้อยแล้ว จะเราทำอะไรต่อละ?

ต่อไปเราจะมากำหนดโครงสร้าง หรือโฟลเดอร์ต่าง ๆที่เราต้องการจัดระเบียบในการจัดเก็บไฟล์ โดยผมจะแบ่งโฟลเดอร์สำหรับการจัดเก็บ ตามแผนก เช่น Account (แผนกบัญชี) Sales (แผนกขาย) HR (แผนกทรัพยากรบุคคล) และแผนกไอที (IT) ดังภาพ ซึ่ง ทุกๆ แผนกนี้อยู่ภายใต้ Storage Pool ชื่อ ShareData นั่นเอง (ดูภาพปลากรอบ) ฮ่าๆๆ

ซึ่งเจ้าโฟลเดอร์หลักๆ พวกนี้ในฟรีแนส เขาเรียกว่า Data Set ครับ

เรามาเริ่มสร้าง DataSet หรือ โฟลเดอร์จัดเก็บข้อมูลในฟรีแนสกันเลย ดังนี้

ให้ไปที่เมนู Storage แล้วเลือกที่ Pools จากนั้น ให้คลิกปุ่ม สามจุด ด้านหลัง Pool ที่เราต้องการ ในตัวอย่าง ผมเลือก Pool ที่ชื่อ ShareData แล้วผมก็ลือก Add DataSet ดังภาพ

จากนั้นก็ทำการกำหนดค่า ชื่อ เช่น ผมสร้างสำหรับแผนก บัญชี ผมตั้งชื่อว่า Account ครับ แล้วประเภท เป็น Windows จากนั้นคลิกที่ SAVE เพื่อสร้าง DataSet ดังภาพ ให้คุณทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ในทุกแผนก

แสดงภาพตัวอย่าง เมื่อสร้างเรียบร้อยแล้วในทุกๆ แผนก

สังเกตุว่า โฟลเดอร์ (DataSet) ที่เราสร้างขึ้นมานั้น เป็นเพียงแค่การสร้างกล่องจัดเก็บครับ เรายังไม่ได้มีการแชร์ให้ใครเข้ามาใช้งานใดๆ ทั้งสิ้น

ต่อมา เราต้องการแชร์โฟลเดอร์ต่างๆ พวกนี้ให้แต่ละแผนกเข้ามาใช้งาน ครับ

เราก็เริ่มทำการแชร์โฟลเดอร์เหล่านั้นกัน

ไปที่เมนู Sharing แล้วเลือก Windows (SMB) Share จากนั้นคลิกที่ปุ่ม ADD เพื่อสร้างการแชร์โฟลเดอร์

จากนั้น คลิกเลือก DataSet ที่เราได้สร้างไว้ก่อนหน้าแล้ว ตัวอย่างผมจะแชร์โฟลเดอร์ชื่อ Account ก็เลือกตามภาพแลย จากนั้น คลิกที่ SAVE เพื่อแชร์โฟลเดอร์ดังกล่าว ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ให้ครบทุกโฟลเดอร์ที่เราต้องการแชร์ครับ

ตัวอย่างผมสร้างให้ครบทุกแผนกแล้ว

โดยปกติแล้ว หากตัวเซอร์วิส SMB เรายังไม่ได้เปิดใช้งาน ระบบจะทำการเปิดให้อัตโนมัติ แต่หากระบบไม่เปิดให้ เราสามารถเข้าไปจัดการเองได้ โดยเข้าเมนูดังต่อไปนี้

ไปที่เมนู Services จากนั้นเลือกที่ SMB ตรงช่อง Running ต้องขึ้นเป็นสีเหลือง คือ ทำงานอยู่ และหากต้องการให้เซอร์วิสนี้ทำงานทุกๆ ครั้งที่ปิด เปิด เครื่องให้คลิกที่หน้า Start Automatically ด้วย ดังภาพ

เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถเข้าใช้งานแชร์ไฟล์ได้แล้ว ลองทดสอบโดยการเปิดแชร์ไฟล์เดอร์ที่ Windows ดังภาพ

เปิด Explorer แล้วช่อง Address ด้านบนพิมพ์ \\192.168.101.233 ดังภาพ (กำหนดค่าไอพีตามเครื่องฟรีแนสของท่าน)

จะขึ้นมาให้ใส่ชื่อ User & Pass ให้เรากรอก User & Password ที่เราต้องการให้เข้าใช้งานลงไปครับ

คำถาม ?? แล้วจะเอา User & Password มาจากไหนละ ????

การสร้าง User & Group เพื่อเข้าใช้งานแชร์โฟลเดอร์

แน่นวลว่า “”” ในการเข้าใช้งานโฟลเดอร์ เราจะเป็นต้องมีการกำหนดสิทธิ์ ว่าใครมีสิทธิ์เข้าใช้งานโฟลเดอร์ต่างๆ พวกนี้ได้บ้าง เรามาลองสร้างแบบง่ายๆ กันก่อน

ผมจะสร้างผู้ใช้ชื่อ gorapin ให้อยู่ในกลุ่มของ Account เพื่อเข้าใช้งานแชร์โฟลเดอร์ ผมก็เริ่มสร้างกันเลย

สร้างกลุ่ม AccountGroup (กลุ่มผู้ใช้แผนกบัญชี)

ให้ไปที่เมนู Account แล้วเลือกที่เมนู Group (สร้างกลุ่ม) จากนั้นคลิกที่ ADD เพื่อสร้างกลุ่ม AccountGroup ขึ้นมาครับ ดังภาพ

กำหนดค่ากลุ่ม ที่ช้องการ ตัวอย่างตั้งชื่อว่า AccountGroup แล้วคลิกที่ SAVE บันทึก

ต่อมาผมจะสร้างพนักงานบัญชีขึ้นมา 1 ท่าน ชื่อว่า Gorapin ให้อยู่แผนก AccountGroup ดังนี้

กำหนดค่าผู้ใช้ลงไป FullName , UserName , Password ที่สำคัญเลยตรงเลข 6 ให้กำหนดว่า gorapin อยู่กลุ่มไหน ตัวอย่างอยู่กลุ่ม AccountGroup จากนั้นคลิก SAVE

เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะเห็นว่ามี gorapin อยู่ในระบบเรียบร้อยแล้ว

ต่อไปก็ลองเอา user & pass นี้ไป Login ระบบแชร์โฟลเดอร์อีกครั้งสิครับ

กรอกชื่อผู้ใช้เข้าไปครับ gorapin แล้วคลิกที่ OK

เย้ๆ ผ่านแล้วโว้ยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เข้าได้แล้ว เจอโฟลเดอร์ต่างๆ ที่แชร์ไว้แล้ว ลองๆๆ คลิก ที่ Account สิ เข้าได้ไหมน๊า…

ชิป..ละ อะไรอีกว่ะ แชร์แล้ว กำหนดชื่อแล้ว ไหง๋เข้าไม่ได้หว่า…

ที่มันเป็นแบบนี้เพราะ…. เรายังไม่ได้กำหนดไงว่า DataSet หรือโฟลเดอร์นั้น ใครเข้าได้บ้าง …

มากำหนดกันเลย

ไปที่เมนู Storage แล้ว Pools จากนั้นเลือก DataSet ที่เราต้องการกำหนดสิทธิ์เข้าใช้งานครับ ให้คลิกปุ่มสามปุ่ม ด้านท้าย แล้วเลือก Edit Permissions ครับ

จากนั้นคุณก็กำหนด Group เข้าไปสิ ว่ากลุ่มไหน เข้าใช้งานโฟลเดอร์นี้ได้ ผมเลือก AccountGroup ครับ แล้วคลิก SAVE

ลองเข้าแชร์ไฟล์อีกครั้ง

เข้าโฟลเดอร์ Account เย้ๆๆๆๆ เข้าได้แล้วโว้ยๆๆๆ ลองสร้างไฟล์ต่างๆ ด้วยนะ สร้างได้ไหม

ได้แล้ว สร้างไฟล์ โฟลเดอร์ต่างๆ ได้ด้วย จบละที่เหลือแผนกอื่นๆ ก็ลองทำแบบเดียวกันนี้ครับ จบแล้ว

09-12-2019 19.04 เพิ่มวีดีโอ เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

สุดท้าย ใครต้องการให้เราไปช่วยอิมพลีเม้นท์ เราก็รับงานนะครับ ติดตั้งระบบเน็ตเวิร์ค ออกแบบเน็ตเวิร์ค ระบบคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าอะไรเสียบปลั๊กได้ กำหนดไอพีได้ เราทำหมดครับ ติดต่อได้ 02-538-4378 หรือ 095-549-9819 หรือคลิกดูรายละเอียดการติดต่อเราได้จากตรงนี้เลย ติดต่อเรา

สุดท้ายนี้ คิดว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับหลายๆ ท่านที่สนใจ และกำลังมองหาของฟรี และดีใช้ในองค์กรของท่านนะครับ มันมีฟีเจอร์เยอะมากๆ การทำไฟล์แชร์ริ่ง เป็นแค่ติ่งหนึ่งของฟรีแนสครับ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *