ทำความรู้จักกับไมโครติกกันสักนิด (About MikroTik)

สวัสดีครับ วันนี้ขอพูดถึง ไมโครติก สักนิด เพื่อให้ทุกๆ ท่านได้รู้ว่า มันคืออะไร? มาจากไหน ?

• สถานที่ตั้ง : ประเทศลัดเวีย

• เป็นบริษัทที่ผลิตซอฟท์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์เร้าเตอร์

• ความตั้งใจที่จะทำให้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมีราคาถูก รวดเร็ว ง่าย และ ที่สำคัญคือมีความน่าเชื่อถือ

•  “Routing the World.” คือคติประจำตัวของแบรนด์นี้

• ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดย  John Trully & Arnis Reikstins

เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครติกได้ที่ คลิกที่นี่

ปัจจุบันไมโครติก หรือ เร้าเตอร์บอร์ด ที่เราๆ รู้จักกันได้รับความนิยมอย่างมาก ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานด้านบริการอินเตอร์เน็ตแบบยืนยันตัวตน หรือที่รู้จักกันในชื่อ Hotspot

หลายๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นอพาธเม้นท์ โรงแรม โรงเรียน สำนักงานต่างๆ หรือแม้กระทั่ง ISP ใหญ่ๆ ในบ้านเรา ก็หันมาใช้เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ในการทำงาน

มาดูกันว่าเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้มันทำอะไรได้บ้าง

  1. Firewall
  2. Routing
  3. MPLS
  4. VPN
  5. DHCP
  6. Hotspot
  7. QoS
  8. Proxy
  9. Tools

ซึ่งในแต่ละหัวข้อนั้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บของไมโครติก เข้าไปตามนี้ได้เลย คลิกเพื่อดูรายละเอียด

คุณคิดว่าราคามันอยู่ที่เท่าไหร่ ????????

แน่นอนว่า ตามรายละเอียดด้านบน ไมโครติกเองผลิตสินค้าออกมาด้วยเป้าหมายที่ราคาย่อมเยา ดังนั้น หากคุณต้องการทดสอบหรือใช้งานระบบ Routing , Firewall ในราคาที่ไม่เกินพันบาท สำหรับตัวเล็กๆ ของเขา คุณใช้งานไมโครติกได้เลย

แล้วอุปกรณ์ตัวเล็กตัวใหญ่ มันต่างกันอย่างไร ???

ไมโครติกเองมีอุปกรณ์ให้เลือกหลายๆ รุ่น ซึ่งในแต่ละรุ่นจะขับเคลื่อนด้วยระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า RouterOS ซึ่งพัฒนามาจาก Linux Kernel ดังนั้นใครที่ถนัดสบาย Linux อยู่แล้วก็น่าจะเรียนรู้ได้ง่าย หรือปล่าว?? ฮ่าๆๆ อันนี้ไม่รับประกันน่ะครับ

ถึงแม้ตัวอุปกรณ์จะราคาไม่แพงมาก แต่การเรียนรู้อันนี้ต้องบอกว่า หากคุณคิดว่าคุณใช้เร้าเตอร์อื่นๆ เป็นแล้ว แล้วคุณคิดจะซื้อเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้มาแล้วใช้งานเลย บอกได้เลยว่า คิดใหม่ได้เลย

ส่วนตัวของผมเองเมื่อสี่ปีก่อนผมซื้อมาเป็นรุ่น RB450G ด้วยความที่มีเพื่อนแนะนำมาว่ามันง่าย เพราะแค่เอาสคริปวางๆ ก็ใช้ได้เลย สรุปคือ ผมซื้อมาในราคา 7 พันบาท และใช้ทับกระดาษอยู่ ปีกว่าๆ ฮ่าๆๆๆ อย่างที่บอก มันถูกน่ะ แต่ไม่ง่าย ยิ่งนับ 4 ปีย้อนหลังตอนนั้นบ้านเรามีเทรนเนอร์แค่คนเดียวเอง และแหล่งเรียนรู้ก็เรียกได้ว่าแทบไม่มีเลย

ปัจจุบันตอนนี้การเรียนรู้ไมโครติก หลากหลายมากๆ มีทั้ง Youtube Web หรือเรียนกับสถานศึกษา Academy แม้กระทั่งเรียนกับเทรนเนอร์คนไทยได้เลย มีหลายที่ที่เปิดสอนอย่างเป็นทางการ ส่วนตัวผมเรียนที่ ThaiMikroTik.com ใครสนใจตามอ่านด้านล่างต่อไป

เราจะเรียนรู้ไมโครติกได้จากแหล่งไหนบ้าง?????

ไมโครติกเอง เนื่องจากเป็นเจ้าของในการผลิตตัวอุปกรณ์ สิ่งที่เขาทำคือการสร้างมาตรฐานการเรียนรู้ให้เหมือนกัน และเพื่อเป็นการยกระดับความรู้ในตัวอุปกรณ์ตัวนี้ ไมโครติกเองจึงมีการเปิดเรียน และสอบ Certified อย่างเป็นทางการ ผู้ที่จะทำการเปิดสอบให้เราได้ จะต้องได้รับ Certified Trainer จากบริษัทแม่เท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์เปิดสอบ

ซึ่งเมื่อพูดถึง Certified ของไมโครติกแล้วนั้น มีอยู่ด้วยกัน 6 ใบ

  • MTCNA – MikroTik Certified Network Associate (view outline)
  • MTCRE – MikroTik Certified Routing Engineer (view outline)
  • MTCWE – MikroTik Certified Wireless Engineer (view outline)
  • MTCTCE – MikroTik Certified Traffic Control Engineer (view outline)
  • MTCUME – MikroTik Certified User Management Engineer (view outline)
  • MTCINE – MikroTik Certified Inter-networking Engineer (view outline)

MTCNA = สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเรียนรู้ไมโครติกตั้งแต่เปิดเครื่อง ปิดเครื่อง จนถึงลงระบบปฏิบัติการใหม่เมื่อเกิดปัญหา (NetInstall) จนกระทั่งสามารถตั้งค่าให้อุปกรณ์ทำงานได้ตามที่เราต้องการได้ คือ จ่ายเน็ตให้คนอื่นใช้ได้นั่นเอง

MTCRE = ใบนี้ถือว่าเป็นขึ้นสูง คืออยากเก่งเรื่องการทำเร้าติ้ง การทำ vpn ต่างๆ ก็ต้องหลักสูตรตัวนี้เลยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก Dynamic Route ก็อันนี้เลย จะทำให้คุณเข้าใจ OSPF แบบถึงเก่นแท้กันเลยทีเดียว

MTCWE = จัดว่าเป็นอีกใบที่น่าสนใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้งานระบบไร้สาย หรือ Wireless ของ MikroTik และมีลูกเล่นบางส่วนที่มีเฉพาะในไมโครติกเท่านั้น เพื่อให้ระบบแรงๆๆๆๆ มากยิ่งขึ้น

MTCTCE = ใบนี้ต้องบอกว่ามัน เพราะมันคือ Traffic Control คือการจัดการระบบ Firewall ของ MikroTik ป้องกันการเข้าออก การวาง Policy การใช้งานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง QoS มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบง่ายๆ Simple Queue หรือแบบ dynamic Queue หน่อย เช่น PCQ และอื่นๆ อีกมากมายที่จะทำให้ท่านได้นำไปใช้สำหรับการควบคุมการใช้งานแบนวิทที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

MTCUME = ใบนี้เป็นการเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น userman , ppp vpn ต่างๆ ก็อยู่ตรงนี้เลย

MTCINE = ใบนี้เป็นเรื่องที่เน้นเกี่ยวกับ Inter-Networking คือสอนเร้าติ้งสำหรับพวก ISP เช่น BGP พวกนี้เป็นต้น

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเป็นทางการโดยมีใบ Certified รับประกัน (ซึ่งเราเรียนและต้องสอบให้ผ่าน ข้อมูลมีประมาณยี่สิบกว่าข้อ เอง น้อยมาก แต่ยากเหลือหลาย เซียนๆ ที่บอกว่าเก่งสอบตกมานักแล้วก็มี อิอิ)

ค่าใช้จ่ายในการสอบเท่าไหร่ ???

อันนี้ต้องบอกก่อนว่า แล้วแต่เทรนเนอร์แต่ละท่านเลยครับ สมัยผมสอบ ราคา หมื่นสอง สำหรับ MTCNA และ หมื่นห้า สำหรับ MTCTCE และตัวอื่นๆ ก็ประมาณนี้ ปัจจุบันเท่าที่ติดตาม มีหลักพันครับ เช่น หกพันกว่าบาทก็มี บางครั้งมีเรียน MTCNA แต่ไม่สอบ (คือเรียนหลักสูตรนี้เพื่อนำไปใช้งานแต่บางคนไม่ได้สอนใจ Certified จึงไม่สอบ) เป็นต้น

แล้วถ้าไม่มีเวลาไปเรียนคอร์สแบบนี้ล่ะ จะเรียนได้ที่ไหน

หากคุณถนัดภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ผมแนะนำนี่เลยครับ wiki.mikrotik.com เว็บนี้สอนทั้งแต่พื้นฐานของไมโครติก จนถึงระดับสูงกันเลยทีเดียว มีตัวอย่างพร้อมคำสั่งในการคอนฟิกตัวอุปกรณ์ให้เราด้วย เช่น Firewall , VPN , QoS และอื่นๆ อีกมากมาย ลองเข้าไปศึกษาดู ส่วนตัวผมเข้าไปบ่อยครั้ง เพราะจะมีเหล่าเทรนเนอร์มาเขียนบทความใหม่ๆ ให้เราได้เรียนรู้กันตลอดเวลา เรียกได้ว่าฟรี ไม่มีข้อจำกัดกันเลยทีเดียว

นอกจากเว็บด้านบนแล้วใน Youtube ก็มีเยอะมากๆ ในปัจจุบัน เพียงแค่ลองพิมพ์คำค้นว่า MikroTik หรือ RouterBoard กันดูครับเจอเป็นร้อย ไม่เชื่อลองดูได้เลย (ของผมก็ทำไว้น่ะ หากชื่อ อำนวย ปิ่นทอง ดู อิอิ ขอโฆษณาหน่อย คลิกดูตรงนี้เลย )

มีปัญหาจะทำอย่างไร ติดต่อใครตรงไหน อะไรได้บ้าง ????

แน่นอนว่าหากคุณมีปัญหาในการใช้งาน มี หลากหลายช่องทางในการติดต่อ คลิกเข้าไปที่เว็บนี้ http://www.mikrotik.com/support.html จะมีช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งในการติดต่อคุณต้องเตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้ให้พร้อม ก่อนที่จะส่งเมล์ให้เขานะครับ

หรืออีกช่องทาง ท่านสามารถติดต่อ MikroTik Consultant ที่อยู่ในเมืองไทยได้ด่วนเช่นกัน ส่วนฟรีหรือไม่ อันนี้ไม่ทราบนะครับ คลิกตรงนี้ดูได้เลย ปัจจุบันคนไทยที่เป็น Consultant มีอยู่ 15 คนแล้ว (ณ วันที่ 25-07-2016)

อ๋อ สำหรับใครที่ต้องการเป็น MikroTik Consultant นั่น ไม่ยากครับ เพียงแค่คุณสอบ MTCNA และ Certified ใบอื่นๆ อีกหนึ่งใบ ซึ่งเป็นใบ Advance ให้ได้คะแนน 75%+ ขึ้นไป คุณสามารถยื่น หรือให้เทรนเนอร์ยื่นขอเป็น MikroTik Consultant ได้เลยครับ หรือเปิดลิงค์ด้านบนแล้วดูเงื่อนไขเขาครับ เขาอธิบายได้เรียบร้อยแล้ว

อีกที่ ที่เราสามารถนำเสนอความคิด หรือ ร้องขอให้เพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ๆ ที่คิดว่าควรมีได้ โดยคุณแสดงความคิดเห็นได้ที่ฟอร์รัมลองไมโครติกได้เลย จะมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยไขปัญหาชีวิตของท่านเกี่ยวกับไมโครติกได้เป็นอย่างดี ไปที่ http://forum.mikrotik.com

หาซื้อได้ที่ไหน ????

ปัจจุบันมีผู้นำเข้าในบ้านเราหลายเจ้ามากๆ ผมอ้างอิงตามเว็บของไมโครติกแล้วกันนะครับ คลิกลิงค์นี้ดูได้เลย ส่วนที่ผมซื้อประจำก็นี่เลย www.thaimikrotik.com ครับ สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บได้เลยเช่นกัน

วันนี้บทความนี้ แค่นี้ก่อนแล้วกันครับ เดี๋ยวบทความต่อไปผมจะพูดถึง ไมโครติกไปเรื่อยๆ รวมถึงนำเสนอการใช้งานไมโครติกขึ้นพื้นฐาน ให้ท่านได้ศึกษากันด้วย

หมายเหตุ : บทความนี้เขียนขึ้นด้วยประสบการณ์การใช้งานส่วนตัวของผมเอง ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี่ และหากท่านแจ้งข้อผิดพลาดให้ผมทราบ จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง เพื่อจะได้ทำการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

อำนวย ปิ่นทอง
ผู้เขียนบทความ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *