Yeastar – มาลองใช้บริการ CAT2CallPlus(Link) กับ Yeastar S20 กันครับ

สวัสดี ในเช้าวันจันทร์อันแจ่มใส่นะครับ

วันนี้มาเรื่องเบาๆ เสียตังก์กันเล่นๆ บ้างดีกว่า ฮ่าๆๆๆ ผมจะขอแนะนำการสมัครใช้บริการ CAT2CallPlus (Link) ซึ่งเป็นบริการ SIP Trunk ของทาง CAT มันดีอย่างไรนะหรือ?

ก่อนที่จะบอกว่าดีอย่างไร มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า SIP Trunk หรืออะไร?

จงหลับตาแล้วนึกภาพตามนะครับ…

ในปัจจุบัน การใช้งานระบบโทรศัพท์ของเรา ถ้าเราต้องการเชื่อมต่อกับสายนอก (สายที่ทำให้เราสามารถโทรหาใครก็ได้ในโลกนี้) แน่นอน ในกรุงเทพ เราจะต้องขอใช้บริการจาก True หรือไม่ก็ TOT แล้วเจ้าหน้าที่ก็จะลากสายโทรศัพท์เข้ามาในบ้านให้เรา ถูกต้องไหม.. (อ่อควรลืมตาน่ะ ไม่งั้นคุณจะอ่านอย่างไร ลืมไป ฮ่าๆๆ)

ต่อมา ถ้าเราต้องการเอาเบอร์ 02xxxxxxx นี้ ไปใช้กับระบบโทรศัพท์ไอพี ของเราที่จะติดตั้งใหม่ หรือ ที่มีอยู่แล้ว เราต้องทำอย่างไรครับ..?? แน่นอน ถ้าเป็นพวก OpenSouce คุณต้องไปหาการ์ดที่เรียกกว่า Analog Telephony Card (FXO Ports) ตัวอย่างการ์ดดังภาพ ครับ (คลิกดูรายละเอียดการ์ดที่เว็บนี้ครับ คลิกเลย)

เจ้าตัวการ์ดนี้แหละ จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ อนาล๊อค ที่มาจากระบบโทรศัพท์พื้นฐานทั่วไป เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อเข้าสู่ระบบโทรศัพท์แบบไอพี ทำให้เราสารถใช้งานระบบ  อนาล๊อก(เดิม) กับระบบดิจิตอล(ใหม่) ร่วมกันได้

ซึ่งใน Yeastar S-Series PBX นั้น ก็สามารถทำแบบนี้ได้เช่นกัน ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะมีให้เราเลือกครับ แต่แทนที่จะใส่เป็นการ์ด PCIe แบบนี้ เขาทำเป็นโมดูล (Module) ให้เราได้เลือกใช้ ตัวอย่าง โดมูล FXO Module ของ Yeastar S20 ดังภาพครับ

เราสามารถเลือกได้ ว่า เจ้าสายนอกที่เราจะทำการเชื่อมต่อนั้น เราจะเชื่อมต่อแบบไหน ไม่ว่าจะเป็น FXO Module หรือ BRI Module หรือแม้กระทั่งพวก GSM 3G 4G Module ก็สามารถเชื่อมต่อได้

เอาล่ะ กลับมาเรื่อง SIP Trunk ดีกว่า ฮ่าๆๆๆ

จะเห็นว่าข้างต้น การเชื่อมต่อแบบ FXO Module นั้น คือการเชื่อมต่อกับสาย 02xxxxxxx ด้านนอก เอามาเสียบกับตัวระบบโทรศัพท์ของเรา นั่นเอง แต่ปัจจุบัน การบริการแบบนี้จะค่อนข้างยากแล้ว เพราะหลายๆ ผู้ให้บริการแทบจะไม่อยากลากสายมาให้เราแล้วครบ สาเหตุเพราะ ต้นทุนในการให้บริการและการดูแลค่อนข้างสูง และการใช้งานไม่ยืดหยุ่น

ปัจจุบันจะเป็นว่าผู้ให้บริการหลายๆ เจ้า จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบของ SIP กันแล้ว ดูตัวอย่าง ปัจจุบันเราขออินเตอร์เน็ตแบบ FTTX เราจะได้โทรศัพท์มาด้วย คือเขาปล่อยสัญญาณโทรศัพท์แบบ SIP Trunk เข้ามากับเร้าท์เตอร์อินเตอร์เน็ตเราเลย เรามักจะเห็น ONU(เร้าท์เตอร์ที่ผู้ให้บริการให้เราตอนติดตั้งอินเตอร์เน็ต) ของผู้ให้บริการ จะมีสายให้เราเสียบโทรศัพท์ได้เลย ถ้าเราขอไปด้วยน่ะ

จากปัญหาเรื่องการต้องเสียเวลาเดินสาย และ เสียโน่นนั่นนี่เยอะแยะ หลังๆ ผู้ให้บริการ จึงเริ่มมีให้บริการแบบ SIP Trunk กันแล้ว คือ ผู้ให้บริการแค่เตรียมเซิร์ฟแวร์บริการไว้ให้เรา เราจะอยู่ที่ไหนก็ได้ ขอแค่มีอินเตอร์เน็ต เราก็สามารถเชื่อมบริการนั้นได้ และที่สำคัญ บริการบางบริการ เราจะได้เบอร์ 02xxxxxxx มาไว้ใช้งานได้ด้วย ทำให้เรามีเบอร์ส่วนตัวไว้ใช้งานสำหรับให้ลูกค้า โทรเข้า และคนภายในสำนักงานโทรออก ซึ่งทุกอย่างที่ว่ามานี้ทำงานผ่านระบบไอพี เท่านั้น เห็นไหม สะดวกไหมล่ะ เชื่อหมอ.. หมอรู้ดี ฮ่าๆๆ

รู้จักสักนิดกับ SIP Protocol ?

Session Initiation Protocol หรือ SIP คือวิธีการที่เราจะสามารถสื่อสารด้วยเสียงผ่านไอพี (IP) หรือเรามักชอบเรียกกันทั่วๆ ไปว่า VoIP นั่นเอง ซึ่งเจ้า SIP นี้ เป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่บนเลเยอร์ที่ชื่อว่า Application Layer (ลองหาข้อมูลเรื่อง OSI 7 Layer กันต่อเองนะครับ) ซึ่งจะมีการส่งและรับ เสียง และหรือ วีดีโอ แบบเรียลไทม์ ระหว่าง สองจุดปลายทอง (โทรศัพท์) เพียงแค่เราใส่ SIP เข้าไปเท่านั้น

เพิ่มเติมอีกหน่อยกับ SIP Trunk ?

SIP Trunk คือการบริการรูปแบบหนึ่ง จะมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งเราเรียกว่า SIP Provider และอีกฝั่งหนึ่งเป็นผู้ใช้บริการ เรียกว่า SIP Client ทั้งสองฝั่งจะทำการการเชื่อมต่อกัน โดยที่ฝั่ง SIP Provider จะเป็นคนกำหนดรายละเอียดการเชื่อมต่อมาให้ อย่างที่บอก เจ้า SIP นี้มันทำงานผ่านไอพี ดังนั้น กรณีที่เราใช้ SIP Trunk เราจะเป็นจะต้องใช้อินเตอร์เน็ตในการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ

ข้อดีของ SIP Trunk คือ

– สะดวกต่อการใช้งาน ไม่ต้องลากสายใดๆ เข้ามาให้วุ่นวาย
– สามารถลงทะเบียนและเปิดใช้งานได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา
– ค่าบริการในการติดตั้งถูกกว่า มีการบริการที่หลากหลาย

ข้อเสียของ SIP Trunk คือ

– เนื่องจากอาศัยอินเตอร์เน็ตเป็นปัจจัยหลัก ทำให้เมื่ออินเตอร์เน็ตดับ ส่งผลให้เราใช้งาน SIP Trunk ไม่ได้ทันที
– คุณภาพเสียงหรือวีดีโอ ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่ใช้งาน

การสมัครใช้งาน CAT2CallPlus (Link) ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

ก่อนทำการสมัคร สิ่งที่คุณต้องเตรียม เลย คือ ตังก์ ครับ ฮ่าๆๆๆ ระบบเขาตัดผ่านบัตรเครดิต นะครับ

เมื่อเตรียมบัตรเครดิตพร้อมแล้ว ก็ลงมือกันได้เลย เข้าไปที่เว็บ https://link.catnextgen.com ให้ท่านคลิกที่ สมัครใช้บริการ ครับ ดังภาพ

จากนั้นก็กรอกรายละเอียดของท่านลงไปนะครับ คงไม่ต้องพูดมาก “เจ็บคอ” นะ

กรอกเสร็จแล้วก็คลิกที่ปุ่ม สมัคร ครับ

จากนั้นให้เราเลือกแพ็คเกตที่เราต้องการใช้งาน ตัวอย่างผมเลือกใช้  300 บาท (เสียฟรีเลย เพื่อบทความนี้นะเนี่ย ฮ่าๆๆ ใครจะใจดีจ่ายคืน ยินดีน่ะ ฮ่าๆๆๆ)

โปร 300 บาทนี้ ใช้ได้ 365 วันแน่ะ คุ้มน่ะ เอาไว้รับเข้าอย่างเดียวเลย ฮ่าๆๆ โทรออกก็ได้น่ะ ส่วนรายละเอียดดูในเว็บ ว่าค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

เลือกได้แล้วก็คลิกที่ Payment กันเลย ได้เวลาเสียตังก์แล้วครับพี่น้อง

เขาก็จะบอกรายละเอียดครับ CAT Telecom Public company Limited ราคาเท่าไหร่ จากนั้น เลื่อนจ่ายตังก์ด้านล่างกันเลย พร้อมเสีย 300 บาทแล้ว ฮ่าๆๆ

กรอกรายละเอียดบัตรเครดิตของท่านลงไปครับ  เมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็คลิก Continue Payment สิ รออะไร

ถ้าทุกอย่าง ปกติ (ระบบสามารถตัดเงินบัตรเครดิตท่านได้) ก็จะขึ้นหน้าที่ครับ แสดง User & Password ให้เราพร้อมใช้งานแล้วเย้ๆๆๆๆๆๆๆๆ

อ๋อ นิดหนึ่ง สังเกตุที่ Username นะครับ นี่คือเบอร์โทรของเราครับ ตัวอย่าง เบอร์ผมตอนนี้ก็คือ 021073377 นะเออ โทรได้น่ะ ใครอยากโทรมาจ้างงาน โทรได้เลย จะได้หาเงินมาจ่ายค่าบัตรเครดิต 300 ที่จ่ายไปกับบทความนี้ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

แค่นี้เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ให้เก็บรายละเอียดไว้ให้อย่างดีเลยนะครับ ลืมไม่ได้ เพราะถ้าลืม…

ถ้าลืม ก็กลับไปดูในเมล์ไง ฮ่าๆๆๆๆ เขาจะส่งเข้าเมล์ให้เราด้วยนะครับ ตอนสมัครเขาให้กรอกอีเมล์ ให้ใส่ของจริงน่ะ ไม่งั้นจะซวย ฮ่าๆๆ

 

ได้เวลาเรา SIP Account นี้ไปลงทะเบียนใน Yeastar S20 กันแล้ว ม่ะ ไปกัน

การเชื่อต่อ SIP Trunk บน Yeastar S-Series PBX

ก่อนอื่นใด เข้าสู่ระบบของเราก่อนเลยครับ S20 ของผมก็เลขไอพี https://172.19.10.248:8080

จากนั้นไปที่เมนู Settings เลือก Trunk

เลือกที่ Trunks ครับ

จากนั้นคลิกที่ Add ครับ (ปุ่มสีน้ำเงิน) สังเกตุตอนนี้ผมมีอยู่แล้วหนึ่ง เบอร์ ชื่อ CAT1 ผมจะเพิ่มอีกเบอร์ชื่อ CAT2 นะครับ ส่วนของคุณตั้งชื่ออะไรก็แล้วแต่เลย

จากนั้นให้กรอกรายละเอียด ดังนี้ลงไปครับ ให้เปลี่ยน ค่าต่างๆ ให้เป็นของท่าน ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ใส่เหมือนตัวอย่าง

แก้ไขตั้งแต่ ข้อ 3 4 5 6 นะครับ รายละเอียด ได้จากที่เราลงทะเบียน ส่วนข้อ 4 นั้นให้ตัด +66 ออกแค่นั้นแหละ นอกนั้นเหมือนกันเลย จะได้ดังภาพ

เมื่อกรอกทุกอย่างครบถ้วน ก็คลิกที่ Save นะครับ พี่น้อง

ต่อมา ลองมาดูสถานะของเขาครับว่า เราเชื่อมต่อได้สำเร็จไหม โดยไปที่เมนูหลัก (มุมซ้ายมือสุดด้านบน)

จากนั้นคลิกที่ PBX Monitor ครับ เพื่อตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อ ต้องเขียวนะครับ

เย้ๆๆ สังเกตุ เขียวทั้งคู่แล้วนะครับ ทั้ง CAT1 และ CAT2 พร้อมใช้งาน

เพียงแค่นี้ท่านก็สามารถใช้งาน SIP Trunk ได้แล้วครับ อ๋อ ก่อนการโทรเข้าโทรออก ให้ท่านไปกำหนด Inbound และ Outbound ด้วยนะครับ และกำหนด CAT1 และ CAT2 ให้โทรเข้าออกได้ ถ้าไม่กำหนด ก็จะโทรเข้าออกไม่ได้ ใน SIP Trunk ใหม่ที่เราได้เพิ่มเข้าไปนะครับ

ตัวอย่างคร่าวๆ นะครับ การกำหนดให้ SIP Trunk ใหม่ สามารถโทรเข้ามาได้

ไปที่ Settings จากนั้นไปที่ PBX จากนั้นไปที่ Call Controll จากนั้นไปที่ Inbound route จากนั้นก็ทำการเลือก CAT1 และ CAT2 เข้าไปครับ ตามภาพตัวอย่าง

ส่วน Outbound Route ก็ทำแบบเดียวกันนะครับ เมนูใกล้ๆ กัน ขอไม่อธิบายล่ะน่ะ

สุดท้าย ก็คิดว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆ ท่านที่ต้องการใช้งาน SIP Trunk ร่วมกับ Yeastar S-Series PBX นะครับ โชคดี อ่อ หากท่านมีข้อสงสัย ลองโทรปรึกษาได้ ผมมีบริการแต่ไม่ฟรี ยกเว้นลูกค้าที่ซื้อของกับผม บริการฟรี 100% ครับ ยินดีสอนให้ด้วย (อิอิ ขออนุญาตขายของหน่อย)

ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตาม

อำนวย ปิ่นทอง
บริษัท โอติก เน็ตเวิร์ค จำกัด

สนใจสินค้า Yeastar ทุกรุ่นติดต่อผมได้ ซื้อกับผมสอนฟรี คุณก็ติดตั้งเองได้ เชื่อหมอ หมอรู้ดี..
เบอร์ติดต่อ 02-538-4378 หรือ 095-549-9819 (อำนวย ปิ่นทอง) ยินดีรับทุกสายที่พร้อมเสียตังก์ ฮ่าๆ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *