(EP1) ทำความรู้จักกับ Switch ยี่ห้อ MikroTik กันหน่อย

ทำความรู้จักกับ Switch ยี่ห้อ MikroTik กันหน่อย

หลายๆ คนที่เคยใช้งานไมโครติก จะทราบดีอยู่แล้วว่าไมโครติกเองนั้น มีการแบ่งฮาร์ดแวร์ ของตัวเอง ออกเป็นหมวดหมู่หลัก ๆ 5 หมวด คือ

  • Ethernet routers (อุปกรณ์เร้าท์เตอร์บอร์ด พร้อมใช้งาน ไม่มี Wireless)
  • Switches (อุปกรณ์ทำหน้าที่เป็น L2 & L3 สวิท)
  • Wireless systems (อุปกรณ์พวก Wireless โดยเฉพาะ เช่น Point to Point Wireless)
  • Wireless for home and office (เร้าท์เตอร์แบบ All in One คือ พร้อมใช้สำหรับเล็กๆ บ้าน สำนักงานเล็กๆ ซึ่งมาพร้อมกับไวเลสแลน ทั้งแบบ 2.4 Ghz และ 5Ghz ในบางรุ่น)
  • RouterBoard (เฉพาะตัวบอร์ดและระบบปฏิบัติการ ไม่มีเคส หรือ Closure) เหมาะสำหรับนำไป DIY ต่อ (Do It by Yourself)

ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ Switches ของไมโครติกกัน ว่า มีรุ่นอะไรน่าสนใจบ้าง

คุณสามารถดูรายละเอียดสวิทของไมโครติก ได้ที่ ลิงค์นี้เลย คลิก

ณ ปัจจุบันไมโครติกมีสวิทที่ออกมาจำหน่าย อยู่ 15 รุ่นด้วยกัน (ณ วันที่ 29/07/2018)

สวิทของไมโครติก จะมีรุ่นที่ขึ้นต้นด้วย RB , CRS , CSS ฮ่าๆๆๆ มาถึงตรงนี้หลายๆ คนคงสงสัย แล้วมันต่างกันยังว่ะ…???

มาดูกัน รุ่นที่ขึ้นต้นด้วย RB หรือ มาจาก RouterBoard รุ่นพวกนี้ ส่วนมาก จะเก่าแล้วครับ คือออกมานาน ตัวเล็กๆ ไม่เกิน 6 พอร์ต และที่สำคัญเป็นแค่ L2 Switch เท่านั้น เช่นรุ่น RB260GS คือ เร้าท์เตอร์บอร์ดซีรี่ที่ 2 มีพอร์ตทั้งหมด 6 พอร์ต เป็นพอร์ตความเร็ว กิ๊กกะบิต (G) และมี SFP (เชื่อมไฟเบอร์อ๊อปติก) มาด้วย 1 พอร์ต ซึ่งเราต้องไปซื้อโมดูลมาใส่เองน่ะ มีแค่พรอ์ตมาให้

หรืออีกรุ่น เช่น RB260GSP คล้ายกลับตัวบนเลย แต่มี P ตามหลัง คือ Power Over Ethernet คือ สามารถจ่ายไฟให้อุปกรณ์ได้นั้นเอง ซึ่งการจ่ายไฟเป็นแบบ Passive PoE

ทั้งสองรุ่นด้านบน ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า SwOS หรือ Switch Operating System ของไมโครติก นั้นเอง การใช้งานจะทำงานผ่านเว็บบราวเซอร์ เป็นหลัก ใช้ Winbox ที่เราคุ้นเคยไม่ได้ นั่นเอง

ถัดมา รุ่น CRS หรือ ตัวเต็มๆ มาจากคำว่า Cloud Router Switch นั่นเอง ตัวมันเองทำหน้าที่เป็น L2 ก็ได้ และเป็น L3 (เร้าท์ติ้ง) ก็ได้ ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานคือ RouterOS นั่นเอง เป็นของไมโครติก ที่เราสามารถใช้ Winbox เข้าไปคอนฟิก หรือ จะใช้ webfig ก็ได้นั่นเอง ซึ่ง CRS นี้มีออกมาหลายๆ รุ่นอย่างมากๆ เลย เช่น

จากสวิทสองรุ่นด้านบน จะเห็นว่า ไมโครติกให้ SFP (ไฟเบออ๊อปติก) มาให้ 1 พอร์ต แต่ ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่าสายใยแก้วนั้น เริ่มมีความจำเป็นในการใช้งาน ด้วยระยะทางที่ยาวไกล กว่า UTP สายที่เราใช้งานได้ไม่เกิน 100 เมตร จาก switch นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ เดาว่าไมโครติก เป็นเทร็นการใช้งานสายไยแล้ว จึงทำรุ่นเล็กๆ ที่รองรับการเชื่อมต่อด้วยไยแก้วออกมา รุ่นเล็ก หนึ่งรุ่น คือ CRS106-1C-5S โห…

มันคือ Switch รุ่นใหม่ ที่ขึ้นต้นด้วย CRS (Cloud Router Switch) ซีรี่ 1 มีทั้งหมด 6 พอร์ต แบ่งออกเป็น 1 คอมโบ้พอร์ต และ 5 พอร์ต SFP (ใยแก้ว)

รู้จักคอมโบ้พอร์ต (COMBO) คือ การจับคู่พอร์ต Ethernet / SFP หรือ ท่านต้องเลือกใช้งาน พอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง เท่านั้น ใช้ร่วมกันไม่ได้ เป็นทางเลือกให้เรา นั่นเอง อยากต่อสบาย UTP ธรรมดา หรือ ใช้กับ SFP Module เลือกได้ สำหรับคอมโบ้

และเจ้ารุ่นนี้ ระบบปฏิบัติการที่ใช้ยังคงเป็น RouterOS นั่นเอง ทำหน้าที่เป็น L3 คือทำเร้าท์ติ้งได้นั่นเอง (ไม่แนะนำให้ใช้น่ะ กิน CPU ฮ่าๆๆๆ)

CRS112-8G-4S-IN

รุ่นนี้จะมาพร้อมกับ 8 พอร์ตกิ๊กกะบิต และมี SFP มาให้ 4 พอร์ต (ความเร็ว 1.25G) รองรับการใช้งานแบบใส่ตู้แร็คหรือวางโต๊ะก็ได้ เอาใจคนอยากใช้งานแบบพอร์ตแลนธรรมดาได้ และ อยากใช้ SFP มากกว่าหนึ่งพอร์ต ที่สำคัญ ตั้งโต๊ะ ได้ไม่ต้องใส่ตู้แร็คให้วุ่นวาย นั่นเอง

เจ้ารุ่น CRS112-8G-4S-IN นี่ มันมีอีกรุ่นที่ออกมาหน้าตาคลายๆ กันเลย คือ CRS112-8P-4S-IN (8P) เป็นรุ่นที่รองรับการจ่ายไฟให้อุปกรณ์แบบ Passive PoE จ่ายไฟได้ทั้งหมด 8 พอร์ตเลย รองรับทั้ง 24v และ 48v (ถ้าต้องการใช้ 48v ต้องซื้อ adapter ต่างหาก ของที่แถมมากับอุปกรณ์เป็นแบบ 24v) เหมาะสำหรับเอามาจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์กระจายสัญญาณไร้สาย หรือ Access Point นั่นเอง ที่ติดตั้งตามชั้นในตึก ไม่ต้องใช้รุ่นใหญ่ที่มี 24 พอร์ต สะดวกดี

และแน่นอนว่า สองรุ่นนี้ ก็ยังใช้ RouterOS เป็นระบบปฏิบัติการหลักๆ ในการบริหารจัดการนั่นเอง (ง่าย หรือปล่าวหว่า???)

เจ้า CRS ที่ออกมานี้ มีรุ่นที่รองรับระบบปฏิบัติการ RouterOS หรือ SwOS ด้วย และเป็นที่นิยมกว่า รุ่นที่มีเฉพาะ RouterOS อย่างเดียวด้วยซ้ำ ซึ่ง ก็เป็นรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาสู่ตลาด แล้ว เช่น รุ่น CRS328-24P-4S+RM (รุ่นนี้พิมพ์นิยมเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นรุ่นที่รองรับการจ่ายไฟ passive และ IEEE802.3 AF/AT ซึ่งอุปกรณ์โดยทั่วไปที่รองรับ PoE In จะเป็น af/at ซะสวนใหญ่แล้ว เพื่อความสะดวกในการใช้งาน

โดยส่วนตัวผู้เขียนเอง จะใช้แต่รุ่นพวกนี้เป็นส่วนใหญ่ เพราะ เป็นรุ่นที่รองรับระบบปฏิบัติการแบบ RouterOS และ SwOS นั่นเอง

คลิกดูรายละเอียด

และเพื่อให้รองรับการใช้งาน แบบใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ไมโครติกเองได้ออกรุ่นที่รองรับการใช้งานหนักๆ เหมาะสำหรับเอาไปทำสวิทหลัก หรือ Core Switch ซึ่งให้ทุกพอร์ตมาเป็น 10Gb ถึง 16 พอร์ตเลย นั่นคือรุ่น CRS317-1G-16S+RM

และเพื่อให้รองรับกับกระแสของการเชื่อมต่อแบบใยแก้วนำแสง Fiber Optic รุ่นล่าสุดที่ออกมาคือ CRS328-20S-4S+RM ฮ่าๆๆ สวิทสำหรับ SFP ล้วนๆ เลย มี 20 พอร์ต สำหรับ ความเร็ว 1.25G และ 4 พอร์ตสำหรับ10G นั่นเอง เลือกใช้ตามสบาย

อีกรุ่นที่ผมไม่ได้พูดถึงด้านบนคือรุ่นที่ขึ้นต้นด้วย CSS คือมาจากคำว่า Cloud Smart Switch เป็น L2 Management อย่างเดียวเลย (ส่วนตัวไม่ค่อยชอบ เพราะระบบไฟ พี่เขามาเป็น Adapter ดูแล้วมันกิ๊กก๊อก ไปหน่อย แต่ก็ถือว่าเป็น L2 Management ที่ราคาไม่แรงเท่าไหร่ ประมาณไม่เกิน 7 พัน รองรับการทำ VLAN ได้ (ถ้าให้เลือกใช้รุ่นนี้ผมหนีไป Cisco SG220 ดีกว่า)

เอาล่ะ จากที่แนะนำมา คุณจะเห็นว่าผมมักบอกเสมอว่า บางรุ่นใช้ระบบปฏิบัติการ RouterOS และบางรุ่นใช้ SwOS และมีบางรุ่น เลือกใช้ได้ จากทั้งสองแบบ (บางรุ่นบังคับมาเลย ว่าอันใดอันหนึ่ง)

ซึ่งในบทความหน้า ผมจะมาสอนใช้งาน SwOS กันว่า มันยากง่าย อย่างไร เมื่อเทียบกับ RouterOS หากเราต้องการใช้สวิทของไมโครติก คอยติดตามนะครับ

บทความนี้แค่นี้ก่อน อาจจะอ่านแล้วงงๆ น่ะ ฮ่าๆๆ คนเขียนเองก็งงๆ เหมือนกัน ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อ๋อ อีกไม่นานไมโครติกจะออก Certified เกี่ยวกับ L2 Switch กันน่ะ ดังนั้น รอคอยจร้า ผมก็ลอยคอ (รอคอย) อยู่เช่นกัน พัฒนาการของ SwOS พัฒนาดีขึ้นมาเรื่อยๆ และอีกหน่อยจะเห็น 48 พอร์ต มาด้วยเช่นกัน ไม่ปลายปีนี้ ก็น่าจะต้นปีหน้า สำหรับอุปกรณ์ใหม่ๆ ของไมโครติก ..

ของคุณท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้นะครับ สวัสดี..

3 comments

  1. เนื้อหาเป็นประโยชน์มาก ขอบคุณครับ
    ปล.ตัวหนังสือเส้นบาง พื้นขาว อ่านยากมากครับ

    1. ขอบคุณครับ ผมพยายามลองปรับตัวหนังสือให้มันดูน่าอ่านขึัน ตอนนี้ลองปรับใหม่แล้วครับ ลองดูอีกครั้ง ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ จะได้ปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *