การทำแจ้งเตือนด้วย Line Notify บนอุปกรณ์ RouterOS แบบง่ายๆ

บทความนี้ จะพูดถึงเรื่องการมอนิเตอร์ และการแจ้งเตือนด้วยบริการของ Line API มันคือ Line Notify นั่นเอง

เข้า Line Notify เป็นบริการที่ทาง Line ให้บริการ ซึ่งนักพัฒนาสามารถเอา API นี้ไปเขียน สั่งให้แจ้งเตือน หรือส่งข้อความใดๆ ไปหาคนที่เราต้องการ หรือกลุ่มคนได้

จากประโยชน์ตรงนี้ เราจึงเอามาประยุกต์ใช้งานกับ RouterOS หรือ ไมโครติก ของเรากัน ได้ด้วย เพราะไมโครติกเองสามารถสั่งรันคำสั่งสคริป ต่างๆ ได้ (Mikrotik Scripting)

ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น ต้องการให้ระบบแจ้งเตือนเมื่อมีคนเข้ามาใช้งานเน็ตเวิร์คเสมือนของเรา (VPN) ทำให้เราทราบว่าตอนนี้ใครบ้างมีการเชื่อมต่อ VPN เข้ามา

หรือ กรณีที่เรามีเน็ตมากกว่าหนึ่งเส้น หรือ เราเสียบ Aircard 4G ไว้ที่อุปกรณ์ เพื่อเอาไว้มอนิเตอร์อินเตอร์เน็ตหลักของเราว่ามีการหลุด หรือ ดาวน์ระบบหรือไม่ กรณีที่หน่วยงานนั้นๆ ซีเรียสเรื่องอินเตอร์เน็ตที่ดับไม่ได้ หรือได้แต่ให้น้อยสุด เมื่อเน็ตดับก็ให้แจ้งเตือนไปที่ Line ของเรา (โดยผ่านเส้นทางสำรอง Aircard หรือ เส้นทางเน็ตที่มีมากกว่าหนึ่งเส้น) เป็นต้น

หรือ อีกกรณีหนึ่ง เช่น เราเอาไว้มอนิเตอร์แบนวิดของเราว่า ถ้าเรามีอินเตอร์เน็ตความเร็ว 200Mb (ดาวน์โหลด) เราอาจจะตั้งไว้ว่า หากปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา ถูกใช้งานเกินกว่า 100Mb แล้ว ให้ระบบแจ้งเตือนไปที่ Line application เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบว่า ณ ช่วงเวลานี้ มีการใช้งานแบนวิดที่สูงเกินครึ่งแล้ว อาจจะส่งผลให้ระบบเริ่มช้าลง เราเองผู้ดูแลจะได้ทราบปัญหาก่อน เป็นต้น

จากตัวอย่างที่ผมยกมา ผมจะนำเสนอในรูปแบบวีดีโอสักหนึ่งกรณี คือ กรีณีเน็ตเราถูกใช้งานเกินกว่าที่เรากำหนดให้แจ้งเตือน เพื่อเป็นตัวอย่าง

ก่อนที่จะทำ เรามาดูกันว่า เราต้องใช้อะไรบ้าง ซึ่งอุปกรณ์ และสิ่งที่เราต้องเตรียมมีดังนี้

  1. RouterOS (MikroTik) สักตัว รุ่นไหนก็ได้ ทำได้เกือบทุกรุ่น
  2. Line Account บัญชีสำหรับใช้งาน Line Application
  3. คำสั่ง Script สำหรับสั่งรัน (สามารถใช้งานผ่านเครื่องมือที่เราเตรียมไว้ให้แล้วแบบง่ายไม่ยุ่งยาก ได้ที่ www.otiknetwork.com/linenotify.php

ส่วนวิธีการทำ ให้ทำตามวีดีโอนี้เลยครับ

เพิ่มเติมกรณีใช้ Traffic Monitor Tools เพื่อตรวจสอบปริมาณการใช้แบนวิดของเราว่า เกิน หรือ น้อยกว่า จะมีส่วนที่ต้องทำความเข้าใจคือ Traffic ในส่วนที่มีให้เราเลือกว่า Transmitted และ Received ว่ามันคืออะไร

ผมให้ดูรูปนี้ก่อน เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นนะคัรบ

จากภาพ ให้มองอย่างนี้ครับ ให้ยึดที่ “อุปกรณ์เร้าท์เตอร์เรา” เป็นหลัก หากเร้าท์เตอร์เรา ดาวน์โหลดไฟล์ ดึงข้อมูลจากเว็บมา เราจะเรียกว่า Received คือเร้าท์เตอร์รับข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตด้านนอกเข้ามา หรือจะเรียกอีกอย่างว่า Download นั้นเอง คือ แสดงว่าตอนนี้เครื่องคอมในเน็ตเวิร์คของเรามีการเข้าเว็บ หรือดาวน์ไฟล์ นั่นเอง

ส่วน Transmitted หรือ อัปโหลด ให้มองว่า เร้าท์เตอร์ส่งข้อมูลออกไปหาอินเตอร์เน็ตด้านนอก เช่น มีผู้ใช้กำลัง Upload ไฟล์ขึ้น FTP Server หรืออัปโปลดไฟล์ขึ้น Dropbox หรือ Google Drive อะไรประมาณนี้ครับ เป็นตัวอย่างนะครับ

หวังว่าตัวอย่างที่ผมทำไว้น่าจะพอมองภาพออกนะครับ หลักๆ คือ ให้ยึดที่ตัวอุปกรณ์เร้าท์เตอร์เรา เป็นหลัก จะเข้า จะออก ก็ดูจากตัวอย่างเลยแค่นั้น … จบน่ะ … ฮ่าๆๆๆ พิมพ์เมื่อยล่ะ.

ขอให้สนุกกับการทดสอบนะครับ

 

อำนวย ปิ่นทอง
บริษัท โอติก เน็ตเวิร์ค จำกัด
www.otiknetwork.com | 02-538-4378

2 comments

  1. ถ้าต้องการให้ check pppoe-out1 กับ pppoe-out2 เวลา internet down หรือ up แล้ให้ให้แจ้งเตือนผ่าน line notify ตรงไหนคับ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *