Yeastar – ตัวอย่างรูปแบบการใช้งานระบบโทรศัพท์ไอพีบน S20

สวัสดีครับ วันนี้ขอพูดเรื่องระบบโทรศัพท์ไอพี หรือ ที่เราๆ ชอบเรียกว่า VoIP สักนิดนะครับ
ถ้าจะพูดถึงระบบนี้ นั้น ไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ใดๆ เลย ระบบนี้มีมาหลายสิบปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่างประเทศ หันมาใช้งานระบบนี้เป็นจำนวนมาก แต่บ้านเราเองกำหลังได้รับความนิยม เหตุผล เพราะ ปัจจุบันระบบเน็ตเวิร์ค ระบบอินเตอร์เน็ต บ้านเราเริ่มทั่วถึง แพร่หลายมากแล้ว และที่สำคัญระบบพวกนี้ มีราคาถูกลงมากๆ เรียกได้ว่าเริ่มต้นแค่เพียง สองหมื่นต้นๆ เท่านั้นเอง ถูกแสนถูกจริงๆ

ในบ้านเรามีหลายๆ แบรนให้เราได้เลือกใช้ มีทั้งแบรนที่คนไทย พัฒนาขึ้นเอง เช่น Plextel หรือ แบรนที่เป็นพวกของฟรี โอเพ่นซอร์ส เช่น Elastix , Issabel , FreeBPX แม้กระทั่งแบรนดังๆ อย่าง Cisco , Avaya , 3CX

และในบทความนี้ ผมจะขอพูดถึงอีกหนึ่งแบรนที่ มีมายาวนานเป็นสิบๆ ปีแล้วเช่นกัน มันคือแบรน Yeastar ครับ คุณสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่เว็บ คลิกที่นี่เพื่อไปยังเว็บของ Yeastar

ต้องบอกตามตรงว่า ถ้าว่าด้วยระบบ VoIP นั้น หากคุณใช้งานเป็นสักหนึ่งยี่ห้อ ผมมั่นใจได้เลยว่า คุณจะสามารถไปจับยี่ห้ออื่น และใช้เวลาศึกษามันได้ไม่นาน เพราะโดยหลักๆ แล้วระบบพวกนี้พัฒนามาจากโปรแกรม OpenSource ตัวหนึ่งชื่อว่า Asterisk ครับ

ซึ่งเจ้า Asterisk นี้ก็มีหลากหลายเวอร์ชั่นเลย ปัจจุบันน่าจะวิ่งไปที่เวอร์ชั่น 16 แล้ว และเกือบทุกๆยี่ห้อ ก็เอาเจ้า Asterisk นี้มาพัฒนาทั้งนั้นเลย ซึ่งก็แล้วแต่ละแบรนว่าจะหยิบเอาเวอร์ชั่นไหนมาพัฒนา

เจ้า Yeastar ที่ผมจะพูดถึงนี้ก็ใช้ Asterisk เช่นเดียวกัน ซึ่ง Yeastar ได้หยิบเอา Asterisk เวอร์ชั่น 13 มาเป็นแกนหลักในการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ เข้าไป ข้อดี ของ Asterisk เวอร์ชั่นนี้ คือรองรับการทำงาน SIP โปรโตคอลชื่อว่า PJSIP ครับ มีจุดเด่นในหลายๆ ด้าน ลองเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมใน Google ดูนะครับ (ให้การบ้านเพิ่ม ฮ่าๆๆ) ซึ่งหนึ่งในนั้นที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือ Mobile Extension ครับ มันคือ หนึ่งเบอร์ภายใน สามารถลงทะเบียนบนอุปกรณ์ได้มากถึง 5 อุปกรณ์ เลยทีเดียว แจ่ม ไม่ต้องจำหลายๆ เบอร์ไง เบอร์ที่โต๊ะ กับเบอร์ที่ลงทะเบียนบนมือถือสมาร์ทโฟนของเรา ใช้เบอร์เดียวกัน ใครโทรมาที่โต๊ะ เราไม่นั่งอยู่ มันก็มาดังที่มือถือเรา สบายเฮ

รู้จักรุ่นใน Yeastar S-Series PBX

เจ้า Yeastar แบรนนี้ ก่อนหน้า หลายๆ คนที่เคยใช้แบรนนี้อาจจะรู้จักในชื่อว่า MyPBX ซึ่งมันคือเวอร์ชั่นก่อนหน้าของสินค้าแบรนนี้ที่เป็นตู้โทรศัพท์ เอาจริงๆ ในเวอร์ชั่นก่อนหน้า มีปัญหาพอสมควรครับ แต่ในเวอร์ชันนี้ เขาเปลี่ยนชื่อมาเป็น S-Series PBX เฟิร์มแวร์ และฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ พัฒนาได้มาค่อนข้างดีเยี่ยมเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนตัวผมชอบในส่วนของ Modular Design ของเจ้ายี่ห้อนี้คัรบ เดี๋ยวมาอธิบายให้ฟัง ว่ามันคืออะไร

Yeastar S-Series PBX แบ่งรุ่นออกเป็นหลักๆ 5 รุ่นตามภาพด้านบน ครับ ดูเต็มๆ ในที่เว็บของ Yeastar นะครับ ตรงนี้เลย

ซึ่งโดยหลักๆ แล้ว คือ ต่างกันที่เฟอร์ฟอแม้น (Performance) ของระบบที่สามารถรองรับได้ เช่น จำนวนสายใน และสายนอกที่รองรับได้ ตัวอย่าง ถ้าเป็นรุ่น S20 ก็รับสายในได้สูงสุด 20 เบอร์ ส่วน S50 รับสายในได้สูงสุด 50 เบอร์ ส่วน S100 รับสายในได้ที่ 100 หมายเลข แต่สามารถขนายได้ถึง 200 หมายเลขโดยการเพิ่ม โมดูลเข้าไป (จ่ายตังก์เพิ่ม) หรือรุ่นใหญ่สุดของ S-Series คือ S300 รองรับ 300 เบอร์ภายใน และขายได้ถึง 500 เบอร์ (จ่ายตังก์เพิ่ม) นั่นเอง

และวันนี้ในบทความนี้ผมขอเสนอรุ่นน้องเล็ก อย่าง S20 ให้ดูกัน

รุ่นน้องอย่าง S20 นี้เป็นรุ่นเล็กสุด ราคา ไม่ถึงสองหมื่น เฉพาะตัวอุปกรณ์ยังไม่รวมโมดูล ของมันนะครับ ต้องบอกไว้ก่อน ฮ่าๆ อย่างที่บอก Yeastar S-Series ถูกออกแบบมาให้เป็นโมดูล ดังนั้น เราจะสามารถเลือกใช้มันได้ ว่าจะให้มันทำอะไร

ภาพด้านบนนี้คือ โมดูลที่ S20 รองรับครับ หลักๆ คือ ประเภท หรือ จำนวนสายนอกที่เราต้องการเชื่อมต่อ นั่นเอง รองรับการเชื่อมต่อแบบ FXO (เสียบกับสายโทรศัพท์ที่มาจากผู้ให้บริการ เช่น TOT , TRUE ที่เป็นแบบ อนาล็อค นั่นเองครับ หัวสายจะมาเป็นแบบหัว RJ11 ตัวผู้) หรือ จะเชื่อมต่อแบบ GSM หรือจะเชื่อมต่อแบบ 3G หรือ 4G LTE ซึ่ง 3G 4G นี่ จุดเด่นของมัน คือ เราสามารถให้ตัว S20 เชื่อมต่ออินเตอร์ผ่าน โมดูลนี้ได้ด้วย เป็นลักษณะของ Fail Over ได้เลย เจ๋งไหมละ

หรือ คุณต้องการใช้งานโทรศัพท์อนาล็อคสักเครื่องในองค์กร ก็สามารถทำได้ โดยใส่โมดูล FXS เข้าไปครับ (การ์ดสีเขียว)

คร่าวนี้มาดูการเลือกใช้งานโมดูลกันสักนิด

ก่อนจะเลือกซื้อตัว Yeastar S-Series PBX นั้น คุณต้องสำรวจก่อนว่า ความต้องการในการใช้งานของคุณเอง มีอะุไรบ้าง ตัวอย่างเช่น

“บริษัท โอติก เน็ตเวิร์ค จำกัด มีพนักงานอยู่ 10 คน และมีสายนอกที่ขอมาจากผู้ให้บริการ TOT จำนวน 3 หมายเลข “

จากโจทย์ด้านบน เราสามารถเลือกรุ่น S20 ได้ เพราะเบอร์ภายในของเราไม่เกิน 20 เบอร์ และส่วนสายนอก 3 เบอร์ที่เราต้องการนั้น เราต้องสั่งซื้อการ์ด โมดูลชื่อ O2 โมดูล อีกจำนวน 2 โมดูล เพราะ ใน O2 โมดูลหนึ่งตัวนั้น รองรับได้ 2 สายนอก นั่นเอง เห็นไหมละ เลือก เฉพาะที่ตัวเองต้องการใช้งาน มีเผื่อไว้อีกหนึ่งสายนอก เผื่อเพิ่มในอนาคต

สักอีกตัวอย่าง ตามโจทย์ด้านบน แต่ โจทย์เปลี่ยนสายนอก ครับ คือ ต้องการแค่ 2 สายนอก และ ต้องการใช้โทรศัพท์อนาล็อคภายในด้วยอีกสัก 2 หมายเลย แบบว่าเอาไว้ต่อกับเครื่อง FAX แบบเก่าที่เราใช้อยู่นั่นเอง

จากโจทย์นี้เราก็เลือก O2 โมดูล และ S2 โมดูล อย่างละตัวครับ จะได้ FXO สายนอก จำนวน 2 สาย และจะได้ FXS สายในแบบอนาล็อค อีก 2 หมายเลข (อ๋อ ลืมบอกไปว่า S20 นั่น เขาให้พอร์ต RJ11 มาทั้งหมดถึง 4 พอร์ต ดังนั้นเราจะสามารถเลือกโมดูลใช้งานได้ถึง 2 โมดูล ซึ่ง 1 โมดูล ใช้งานได้ 2 พอร์ต RJ11 ครับ)

ขออีก 1 โจทย์เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจ การเลือกโมดูลใช้งาน อ้างอิงจากด้านบน บริษัทเดิมนี่แหละ ฮ่าๆๆ เพิ่มเติม คือ ต้องการสายนอก จำนวน 3 สาย และต้องการเบอร์ภายในที่เป็นอนาล็อค 1 สายเพื่อเอาไว้ต่อกับ FAX แบบเก่า

จากโจทย์นี้ เราก็เลือก O2 โมดูล จำนวน 1 โมดูล จะได้สายนอกแล้ว 2 สาย และ เลือก SO โมดูล อีก 1 ซึ่งเจ้า SO โมดูลนี้ จะได้ 1 สายนอกแบบ FXO และ 1 สายในแบบ FXS ทำให้เราได้ทั้งหมด 3 นายนอกแบบ FXO และ 1 สายในแบบ FXS แล้ว

จะเห็นว่า Modular Design จะมีประโยชน์ตรงนี้ ครับ เราสามารถเลือกใช้งาน เฉพาะที่เราต้องการ ไม่ถ้าเราใช้แค่ 2 สายนอก ก็ซื้อแค่โมดูลเดียวก็เพียงพอ อนาคตไม่พอใช้ ค่อยซื้อโมดูลเพิ่ม ซึ่งก็แล้วแต่เรา ทำให้เราไม่ต้องลงทุน ตูมเดียว จำนวนมาก เปลืองเงินเสียเปล่าๆ ว่าไหม?

คราวนี้มาดูรูปแบบการเชื่อมต่อกัน ว่า ถ้าจะใช้ระบบโทรศัพท์ไอพีนี้ เราต้องตระเตรียมอะไรบ้าง

แน่นอนระบบโทรศัพท์ที่ทำงานเป็นไอพี สิ่งที่ต้องการคือ ระบบเน็ตเวิร์คดีๆ สักระบบ ซึ่งปัจจุบัน ระบบเน็ตเวิร์ค ตามสำนักงาน เรามีอยู่แล้ว คือ สายแลน ที่เราๆ ลากไว้ตามจุดต่างๆ ต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งาน แชร์ไฟล์ ใช้งานอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

การนำระบบโทรศัพท์นี้มาใช้งาน เราเพียงแค่ซื้อ แล้วนำมันไปปลั๊กเข้ากับระบเน็ตเวิร์ค ของเรา คือ เอาไปเสียบเข้ากับสวิตฮับที่เรามีอยู่นั่นแหละครับ แล้วก็คอนฟิกเล็กน้อย ก็พร้อมใช้งานแล้ว ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องมีโทรศัพท์หลัก เอาไว้คีย์คอนฟิกระบบ เหมือนๆ ระบบอนาล็อค ทั่วไปๆ ทำให้เราไม่ต้องมานั่งจำโคตนู่นนั่นนี่เยอะแยะไปหมด

ระบบนี้ทำงานผ่านเน็ตเวิร์ค การคอนฟิก แค่เปิดเว็บบราวเซอร์ขั้นมา ใส่ไอพี (แล้วแต่เรากำหนด) ก็เข้าไปคอนฟิกได้แล้ว ไม่ว่าจะกำหนดเบอร์โทร ภายใน กำหนดจำนวนสายนอก กำหนดระบบเสียงตอบรับ ทำได้ง่ายๆ โดยเฉพาะบันทึกระบบเสียงตอบรับ แค่ยกหูโทรศัพท์ก็พูดแล้วบันทึกได้เลย แสนง่ายๆ เลยครับ

ตัวอย่างด้านล่างเป็น Diagram การเชื่อมต่อ แบบคร่าวๆ ที่ใช้งานได้จริงๆ ครับจะเห็นว่าจากผังเน็ตเวิร์คนี้ ผมมีระบบเน็ตเวิร์คอยู่แล้ว ผมต้องการเพิ่มระบบโทรศัพท์เข้าไป ผมก็เพียงแค่ ใส่ S20 เข้าไปในระบบ ต่อเข้าระบบด้วยสายแลน CAT6 ตามภาพ เพียงเท่านี้ครับ และคอนฟิกอีกนิดหน่อย ก็พร้อมใช้งาน

อ๋อ ระบบโทรศัพท์เนื่องจากเป็นระบบไอพี ดังนั้นหัวโทรศัพท์ก็ต้องใช้แบบไอพีเช่นเดียวกันนะครับ เช่น หัวโทรศัพท์ของ Yealink รุ่นต่ำสุดก็ T19P-E2 ครับ ตัวหนึ่งไม่เกิน สองพันครับ แสนจะถูก ใช่ไหมละ

สุดท้าย กับคำถาม เน็ตดับ โทรศัพท์จะใช้งานได้ไหม

หลายๆ คนมีคำถามครับ ว่า มันเป็นระบบไอพีแบบนี้ ถ้าอินเตอร์เน็ตพี่ดับ ระบบโทรศัพท์พี่ก็ใช้ไม่ได้สิ มันจะดีหรือ??

คำตอบ อย่างนี้ครับ ระบบนี้ทำงานอยู่บน ไอพี ซึ่งเป็นระบบเน็ตเวิร์คปกติ ของเราครับ ไม่จำเป็นต้องมีอินเตอร์เน็ต ถ้าเราต่อสายนอกแบบ FXO ไม่ใช่ SIP Trunk เช่นของ CAT อะไรพวกนี้ ดังนั้นไม่ต้องห่วง ต่อให้อินเตอร์เน็ตดับ คุณก็โทรเข้าออกได้ ปกติครับ ขออย่างเดียว ไฟอย่าดับ สวิตฮับอย่าพัง แค่นั้นครับ

โห..น้อง สายแลนแต่ละจุดพี่เดินไว้แค่เส้นเดียวนะสิ ไม่ได้เดือนเผื่อโทรศัพท์ไว้ ต้องเดินใหม่หมดหรือ

คำตอบ อย่างนี้ครับ โทรศัพท์แบบไอพี 1 เครื่อง เขามีพอร์ตแลนมาให้สองพอร์ต ครับ ดังนั้นไม่ต้องห่วงใดๆ พี่สามารถเอาสายแลนที่มีเสียบเข้าโทรศัพท์เรา และ หาสายแลนอีกเส้น เสียบจากโทรศัพท์เราไปที่คอมพิวเตอร์ครับ แค่นี้จบเลย ทำให้สายแลนเพียงจุดเดียวที่เราลากไปตามจุด นั้น ก็เพียงพอแล้ว แต่โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ ที่เรามีใน 1 จุดครับ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆ ท่านที่กำลังสนใจ เปลี่ยนระบบโทรศัพท์นะครับ ยืดหยุ่น ใช้ง่าย ต้องนี่เลยครับ Yeastar S-Sereis PBX ถ้าสนใจก็ลองติดต่อผู้ขาย หรือ ติดต่อทางเราก็ได้ เรายินดี สอนให้ท่านใช้งาน และติดตั้งด้วยตัวเองเป็น หรือ จะให้เราเข้าไปบริการทั้งหมดเลยก็ยินดีครับ

ขอบคุณที่ติดตาม
อำนวย ปิ่นทอง
บริษัท โอติก เน็ตเวิร์ค จำกัด
02-538-4379, 095-549-9819

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *