Routing Protocol คืออะไร? มีไว้เพื่อการใดกันจ๊ะ ?

ช่วงนี้กำลังสอบเรียนใบประกาศนียบัตรขั้นสูงของไมโครติกว่าด้วยเรื่องการทำเร้าท์ติ้ง Certified (ประกาศนีบัตร) นี้ชื่อว่า “MTCINE” MikroTik Certified Inter-networking Engineer

ซึ่งในคอร์สนี้มีเรียนกันทั้งหมด 5 วัน เต็มๆ เรียกได้ว่าแทบกระอัก เพราะเนื้อหาแน่นมากๆ มี LAB ให้ลงทั้งหมด 35 LAB กันเลยทีเดียว ซึ่งเงื่อนไขของคนที่จะเรียน Certified นี้ได้จะต้องมี Certified ก่อนหน้าเหล่านี้มาก่อน คือ MTCNA,MTCRE ซึ่งทั้งสองนี้ ตัวแรก MTCNA เป็นพื้นฐานแรกสุด เรียกได้ว่า สอนให้รู้จักการใช้งานอุปกรณ์แบบพื้นฐาน ส่วน MTCRE อันนี้จัดว่าเป็น Certified ขึ้นสูงอีกตัว ว่าด้วยเรื่องการเร้าท์ติ้ง ทั้งแบบ สเตติกเร้าท์ (Static Route) และ ไดนามิกเร้าท์ (Dynamic Route) ซึ่งจะมีเร้าท์ติ้งหลักๆ ที่เน้นใน MTCRE เลยก็คือ OSPF การเร้าท์แบบใช้ Cost เป็นตัวเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับการเดินทาง

หลายๆ คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้ อาจจะมีคำถาม .. “อะไรคือเร้าท์ติ้ง (Routing) ??”

ก่อนอื่นผมขออ้างอิงจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (Wikipedia) เขาเขียนไว้ว่า

Routing Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย

อ่านจากด้านบนทุกคนคนเห็นภาพลางๆ แล้วล่ะ ว่ามันคืออะไร?

แต่ผมขอเปรียบเทียบให้ฟังเพิ่มเติมอีกนิด เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แบบชาวบ้านละกัน

ให้ลองจิตนาการระบบการเดินทางของบ้านเรา การเดือนทาง เปรียบไปแล้วมันคือ เร้าท์ติ้ง ทีนี้ เวลาที่เราจะเดินทางไปมาตามที่ต่างๆ นั้น เราจะนั่งรถไป (รถโดยสารประจำทาง บขส)

ให้มองเปรียบภาพนี้ว่า รถโดยสารประจำทาง เปรียบเสมือน ไอพีแพ็คเกต เพราะอะไรผมถึงเทียบกับรถโดยสารประจำทาง เพราะ IP packet มันบันทุกข้อมูล จากที่หนึ่ง ส่งไปยังอีกที่หนึ่ง ก็เหมือนรถ ที่ขนคนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง นั้นเอง เครน่ะ…

ต่อมาครับ เวลาเราจะเดินทาง เราก็ต้องไปที่ สำนักงานขนส่ง เช่น ในกรุงเทพเราก็มี สถานีขนส่งผู้โดยสาร (หมอชิต) ถ้าตามจังหวัดต่างๆ ก็จะมีสถานีขนส่งจังหวัด ต่าง ๆ

เจ้าตัวสถานีขนส่ง เปรียบได้เสมือนเป็น เร้าท์เตอร์ (Router) ครับ พอพูดถึงเร้าท์เตอร์จะต้องพูดถึงเส้นทาง หรือในที่นี้มันคือ Routing ครับ

แน่นอนว่า หมอชิต ซึ่งเป็นสถานีขนส่ง จะต้องมีตารางเส้นทาง ในการเดินทาง และแต่ละปลายทาง อาจจะมีเส้นทางการเดินบางที่มีแค่หนึ่งเส้นทางที่ไปได้ ไม่มีทางเลือก แต่บางที่มีหลายๆ เส้นทางที่ไปได้ ตัวอย่างภาพ (ผมขีดมั่วน่ะ แต่ให้เห็นว่ามีหลายเส้นทาง)

ตัวอย่าง เราอยู่หมดชิต 2 เราจะไปเชียงใหม่ ซึ่งจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ มีหลายเส้นทางที่ได้ไป โดยผ่านจังหวัดต่างๆ ซึ่งรถบางคัน วิ่งตรงเลย ไม่แวะพักตามสถานีย่อย แต่รถบางคันที่หวานเย็นหน่อย ก็จะแวะทุกที่ ทุกจังหวัดเพื่อรับผู้โดยสารตามเส้นทางต่างๆ แต่สุดท้ายแล้ว ปลายทางของทั้งสองคัน จะไปที่เชียงใหม่

ซึ่งจากการเลือกเส้นทางนี่แหละครับ เป็นหน้าที่ของเร้าท์เตอร์ จะเป็นคนเลือกก่อนว่า จะให้รถแต่ละคันวิ่งออกไปทางไหน (จะส่งรถบัสไปเส้นทางไหน)

และเงื่อนไขการเลือกว่าจะให้ไปเส้นทางไหนนั้น มันก็มีวิธีการเลือก อันนี้แล้วแต่เรา (ผู้คอนฟิกอุปกรณ์เร้าท์เตอร์ที่จะต้องทำเร้าท์ติ้ง) ว่าเราจะเลือกวิธีการไหน เป็นเงื่อนไขในการเลือกเส้นทางไป เช่น ไปโดย รถด่วนๆๆๆ ไม่พัก เส้นทาง A หรือ จะไปแบบรถหวานเย็น พักแม่งทุกๆ ทาง อันนี้ก็แล้วแต่ใจชอบ

พอมองเห็นภาพแล้วนะครับ คราวนี้มาดูต่อกันว่า วิธีการเลือกเส้นทาง มันมีทางวิธีเลือกอะไรบ้าง (Routing Protocol)

วิธีการเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) มี 2 ประเภทหลักๆ ครับ

  1. เส้นทางแบบกำหนดเอง (Static Route)
  2. เส้นทางเลือกอัตโนมัติ (Dynamic Route)

วันนี้เอาแค่นี้ก่อน ขอไปเรียนก่อน ไว้มาเขียนอีกที (บันทึกความจำตัวเองด้วย)

อำนวย ปิ่นทอง
บริษัท โอติก เน็ตเวิร์ค จำกัด

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *